“มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก” เล็งศาสนาพุทธไว้ "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีปรัชญาที่ลึกซึ้ง"!!+++
“มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก” เล็งศาสนาพุทธไว้หลังจากเป็นคนไม่มีศาสนามานาน!
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของFacebook ได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับเรื่องศาสนา หลังจากที่เขาเขียนข้อความอวยพรวันคริสต์มาสลงในเฟสบุคของเขาเอง เมื่อวันหยุด 25 ธ.ค. ที่ผ่านมา
หลังจากนั้นก็ได้มีผู้ใช้ได้ถามเข้ามาถึงจุดยืนทางศาสนาของเขาว่า “คุณไม่เชื่อในพระเจ้าไม่ใช่เหรอ?” โดยเขาตอบว่าไม่ใช่ เขาไม่ได้เป็นผู้ไม่นับถือศาสนา หากแต่เขาได้รับการเลี้ยงดูจากชาวยิว ได้ผ่านช่วงเวลากับการตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ มามากมาย ซึ่งตอนนี้เขาเชื่อว่าศาสนาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
โดยถ้าย้อนกับไปเมื่อปี 2015 เมื่อครั้งที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เดินทางไปประเทศจีน เขาได้ไปสวดมนต์ขอพรพระพุทธรูปที่วัดในซีอาน ซึ่งเขาคิดว่าศาสนาพุทธว่าเป็นศาสนาที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีปรัชญาที่ลึกซึ้ง เขาเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนามาได้มาซักระยะนึงแล้ว และจะทำความเข้าใจในศาสนาพุทธนี้ให้มากขึ้น!
การปฏิบัติตนเบื้องต้นของชาวพุทธ
ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้คนในสังคมมีความตึงเครียดมากขึ้น คอลัมน์ ธรรมะพักใจ ขอแนะนำการปฏิบัติตนในเบื้องต้นของชาวพุทธ ซึ่งควรมีการปฏิบัติตนให้เหมาะสม ดังนี้
1.การให้ทาน
2.การรักษาศีล
3.การศึกษาธรรมะ
การให้ทาน คือการสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่นโดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุข ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
- 1 วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์ สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทาน จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ
- 2 เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์ จุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหนลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย
- 3 เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์ คำว่า เนื้อนาบุญ หมายถึง บุคคลผู้รับการทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ 1 และข้อที่ 2 จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผลเท่าที่ควร
การถือศีล ศีล นั้นแปลว่า ปกติ คือ สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษากาย วาจา ใจ ไม่ให้ทำร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใด จนเกิดความลำบากเดือดร้อนหรือล้มตาย โดยรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 การถือศีลนี้เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับกิเลสหยาบไม่ให้กำเริบขึ้น
และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ในเบื้องต้นโดยทั่วไป เราควรมีศีล 5 ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไป ดังนั้นบุคคลที่ไม่มีศีล 5 ไม่เรียกว่ามนุษย์
* ศีลข้อที่ 1 ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
* ศีลข้อที่ 2 ไม่ฉ้อโกงลักขโมย
* ศีลข้อที่ 3 ไม่ประพฤติผิดลูกเมีย-ผัว ผู้อื่น
* ศีลข้อที่ 4 ไม่โกหกหลอกลวง
* ศีลข้อที่ 5 ไม่เกี่ยวข้อกับสิ่งเสพติดของมึนเมาให้โทษ
การรักษาศีลทำได้ 2 วิธี คือ
1.การอธิษฐานศีล คือ การตั้งใจด้วยตัวเองว่าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์
2.การสมาทานศีล คือ การรับศีลจากพระภิกษุสงฆ์
การรักษาศีลควรเลือกปฏิบัติตามความหเมาะสม ในการดำเนินชีวิตในสังคม แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละจนกลายเป็นไม่เห็นความสำคัญของศีล เลย
การศึกษาธรรมะ
ธรรมะที่องค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนั้น มีทั้งธรรมะในเบื้องต้น ธรรมะในระดับกลาง และธรรมะขั้นสูงสุด ซึ่งการที่เราจะเข้าใจธรรมะขั้นใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
ธรรมะที่เป็นหลักใหญ่ในพระพทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 คือ ความจริง 4 ประการ
* ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิตและความเศร้าโคก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ซึ่งก็คืออุปทานขันธ์ทั้ง 5 นั่นเอง
* สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรน ทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรนทะยานอยาก เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
* นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
* มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ
ธรรมะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสแสดงไว้นั้น เป็นความจริงทุกประการ แต่การที่เราจะเข้าใจได้ทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย การที่เราศึกษาธรรมะ ก็เพื่อพัฒนาจิตใจของเราให้ดียิ่งขึ้นจนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจหลักธรรม ของพระองค์ได้จนกระทั่งเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ นิพพานนั่นเอง
ที่มา : จุลสารก๊าซไลน์
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของFacebook ได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับเรื่องศาสนา หลังจากที่เขาเขียนข้อความอวยพรวันคริสต์มาสลงในเฟสบุคของเขาเอง เมื่อวันหยุด 25 ธ.ค. ที่ผ่านมา
หลังจากนั้นก็ได้มีผู้ใช้ได้ถามเข้ามาถึงจุดยืนทางศาสนาของเขาว่า “คุณไม่เชื่อในพระเจ้าไม่ใช่เหรอ?” โดยเขาตอบว่าไม่ใช่ เขาไม่ได้เป็นผู้ไม่นับถือศาสนา หากแต่เขาได้รับการเลี้ยงดูจากชาวยิว ได้ผ่านช่วงเวลากับการตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ มามากมาย ซึ่งตอนนี้เขาเชื่อว่าศาสนาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
โดยถ้าย้อนกับไปเมื่อปี 2015 เมื่อครั้งที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เดินทางไปประเทศจีน เขาได้ไปสวดมนต์ขอพรพระพุทธรูปที่วัดในซีอาน ซึ่งเขาคิดว่าศาสนาพุทธว่าเป็นศาสนาที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีปรัชญาที่ลึกซึ้ง เขาเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนามาได้มาซักระยะนึงแล้ว และจะทำความเข้าใจในศาสนาพุทธนี้ให้มากขึ้น!
การปฏิบัติตนเบื้องต้นของชาวพุทธ
ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้คนในสังคมมีความตึงเครียดมากขึ้น คอลัมน์ ธรรมะพักใจ ขอแนะนำการปฏิบัติตนในเบื้องต้นของชาวพุทธ ซึ่งควรมีการปฏิบัติตนให้เหมาะสม ดังนี้
1.การให้ทาน
2.การรักษาศีล
3.การศึกษาธรรมะ
การให้ทาน คือการสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่นโดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุข ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
- 1 วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์ สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทาน จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ
- 2 เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์ จุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหนลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย
- 3 เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์ คำว่า เนื้อนาบุญ หมายถึง บุคคลผู้รับการทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ 1 และข้อที่ 2 จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผลเท่าที่ควร
การถือศีล ศีล นั้นแปลว่า ปกติ คือ สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษากาย วาจา ใจ ไม่ให้ทำร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใด จนเกิดความลำบากเดือดร้อนหรือล้มตาย โดยรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 การถือศีลนี้เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับกิเลสหยาบไม่ให้กำเริบขึ้น
และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ในเบื้องต้นโดยทั่วไป เราควรมีศีล 5 ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไป ดังนั้นบุคคลที่ไม่มีศีล 5 ไม่เรียกว่ามนุษย์
* ศีลข้อที่ 1 ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
* ศีลข้อที่ 2 ไม่ฉ้อโกงลักขโมย
* ศีลข้อที่ 3 ไม่ประพฤติผิดลูกเมีย-ผัว ผู้อื่น
* ศีลข้อที่ 4 ไม่โกหกหลอกลวง
* ศีลข้อที่ 5 ไม่เกี่ยวข้อกับสิ่งเสพติดของมึนเมาให้โทษ
การรักษาศีลทำได้ 2 วิธี คือ
1.การอธิษฐานศีล คือ การตั้งใจด้วยตัวเองว่าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์
2.การสมาทานศีล คือ การรับศีลจากพระภิกษุสงฆ์
การรักษาศีลควรเลือกปฏิบัติตามความหเมาะสม ในการดำเนินชีวิตในสังคม แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละจนกลายเป็นไม่เห็นความสำคัญของศีล เลย
การศึกษาธรรมะ
ธรรมะที่องค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนั้น มีทั้งธรรมะในเบื้องต้น ธรรมะในระดับกลาง และธรรมะขั้นสูงสุด ซึ่งการที่เราจะเข้าใจธรรมะขั้นใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
ธรรมะที่เป็นหลักใหญ่ในพระพทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 คือ ความจริง 4 ประการ
* ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิตและความเศร้าโคก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ซึ่งก็คืออุปทานขันธ์ทั้ง 5 นั่นเอง
* สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรน ทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรนทะยานอยาก เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
* นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว
* มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ
ธรรมะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสแสดงไว้นั้น เป็นความจริงทุกประการ แต่การที่เราจะเข้าใจได้ทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย การที่เราศึกษาธรรมะ ก็เพื่อพัฒนาจิตใจของเราให้ดียิ่งขึ้นจนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจหลักธรรม ของพระองค์ได้จนกระทั่งเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ นิพพานนั่นเอง
ที่มา : จุลสารก๊าซไลน์
http://www.vcharkarn.com/varticle/39418
http://www.atimedesign.com/webdesign/zuckerberg-no-atheist/
“มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก” เล็งศาสนาพุทธไว้ "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีปรัชญาที่ลึกซึ้ง"!!+++
Reviewed by Unknown
on
22:19
Rating:
สาธุครับ มีชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงอีกมากมายที่นับถือพุทธเอามาลงเยอะๆนะครับ
ตอบลบอนุโมทนา สาาธุๆ ผู้มีปัญญย่อมมองเห็นทางสว่าง
ตอบลบ