ประเด็นร้อน เถรวาท - มหายาน ในรัฐธรรมมนูญ ฉบับ คสช. !!!
"เถรวาท - มหายาน เป็นประเด็นร้อนจนได้ในรัฐธรรมมนูญ ฉบับ คสช."
+×÷=+×÷=
@ กรธ. ภายใต้การดูแลของ คสช. ได้เพิ่มประเด็นร้อนและเปราะบางไว้ใน รัฐธรรมมนูญคือ มาตรา ๖๗ ที่มีข้อความตอนหนึ่งว่า
"....รัฐพึงให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเถรวาท...."
@ ประโยคนี้ประโยคเดียว กรธ. คิดว่าอาจเป็นวรรคทองที่ทำให้ได้ใจชาวพุทธไทย โดยเฉพาะพระสงฆ์ไทย
เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธเถรวาท แต่นี่คือเผือกร้อนที่ชาวพุทธไทยกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
เพราะสังคมไทยเวลานี้มิได้มีแต่เถรวาท แต่ยังมีคณะสงฆ์มหายานอยู่ร่วมด้วยภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับ พุทธศักราช ๒๕๐๕ และฉบับแก้ไข พุทธศักราช ๒๕๓๒
ซึ่งก็มีทั้งคณะสงฆ์จีน (พระจีน) กับคณะสงฆ์ญวณ (พระญวณ) คณะสงฆ์ ๒ นิกายนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมาตลอด
และการปกครองแม้ดูเหมือนจะเป็นอิสระแก่ตน แต่เอาเข้าจริงก็ต้องผ่านพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชของคณะสงฆ์ไทย ดังนั้น สมเด็จพระสังฆราชไทยจึงมีความหมายต่อคณะสงฆ์ทั่งสองนิกายด้วยเช่นกัน
@ คำถามก็คือ ที่ว่าร้อนแล้วมันร้อนอย่างไร ?
เรื่องต่อไปนี้น่าจะเป็นคำตอบได้...หลังจากวรรคทองนี้เผยแพร่ พระญวณรูปหนึ่งบึ่งมาหาผมเลย ท่านบอกว่ามาในนามคณะสงฆ์ของท่านเพื่อปรึกษาเรื่องรัฐธรรมมนูญ แล้วถามว่า..
การที่เขียนระบุว่า "พึงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเถรวาท" จะมีผลกระทบมหายานไหม? ท่านเกรงว่า อาจทำให้เกิดการตีความตามตัวอักษรแล้วตัดการอุปถัมภ์คณะสงฆ์นิกายมหายาน เพราะอ้างว่าไม่มีเขียนไว้ในรัฐธรรมมนูญ
@ ท่านยังร้อนต่อ...ท่านบอกว่าถามคณะกรรมการร่าง กรรมการร่างว่าไม่มีปัญหา แต่อาตมาเกรงว่าจะมีในกาลข้างหน้า เพราะรัฐบาลบางรัฐบาลอาจตีความแบบไม่ให้
เรื่องนี้ ผมตอบท่านไม่ได้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด เพราะระยะหลังการตีความกฏหมายที่บ้านเราดูแปร่งๆมีทั้งตีความแบบช่วยคนที่ต้องการช่วยและเล่นงานคนที่ต้องการเล่นงาน นักกฏหมายไทยทำได้หมด...พระท่านกลัวอย่างนั้น
แต่ที่ผมไม่เห็นด้วย คือ ที่ท่านบอกว่า บางทีนายกรัฐมนตรีอาจไม่ใช่พุทธ ผมเลยบอกท่านว่า ถ้าท่านกลัวอย่างนั้นก็ต้องให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นไม่ได้ ...ท่านพยักหน้า
@ ประเด็นร้อนต่อมา คือ คำถามเรื่องเถรวาท-มหายาน ว่า คืออะไร ? คำถามนี้มาถึงผมเยอะมากจนผมต้องหยิบมาเขียน คำทั้งสองเป็นชื่อของนิกาย (school, sect) ซึ่งใช้แบ่งกลุ่มคนที่นับถือพระพุทธศาสนาออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่
กลุ่มหนึ่งเรียกว่า เถรวาท คือ กลุ่มที่ยึดถือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระเถระ ๕๐๐ รูป เริ่มตั้งแต่พระมหากัสสปะทำสังคายนาไว้ ปัจจุบันกลุ่มนี้เผยแพร่เป็นหลักอยู่ในลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร และในส่วนต่างๆของโลก เช่น อเมริกา ยุโรป
อีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหายาน คือ กลุ่มที่ยึดแนวปฏิรูป ปรับวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาบางเรื่องให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น เครื่องนุ่งห่มและพิธีกรรม เผยแพร่เป็นหลักอยู่ในจีน เกาหลี เวียตนาม ญี่ปุ่น
@ พระพุทธศาสนาไทยเข้าใจกันเป็นแบบเถรวาท แต่เถรวาทในไทยก็แยกไปเป็นมหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย ในสมัย ร. ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เราแบ่ง เป็นคามวาสี (พระบ้าน, พระอยู่วัดที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน) กับ อรัญญวาสี หรือ วนวาสี (พระป่า, พระอยู่วัดที่อยู่ในเขตป่า) สมัยสุโขทัย แค่วัดอยู่นอกกำแพงเมืองก็เป็นวัดป่าแล้ว
พระในเมืองไทยจาก ๒ นิกาย เรียกสั้นๆว่า พระธรรมยุต พระมหานิกาย ซึ่ง ณ วันนี้ก็แยกไม่ออก เพราะมีวิถีชีวิตไม่ต่างกัน เช้าบิณฑบาต สายลงทำวัตรเช้า เย็นทำวัตรเย็น กลางวันรับกืจนิมนต์ เหมือนกัน เป็นเนื้อนาบุญเหมือนกัน รับการพระราชทานสมณศักดิ์จากพระเจ้าอยู่หัวเหมือนกัน รับการถวายปัจจัย ๔ และสิ่งเกินปัจจัย ๔ คือเงินเหมือนกัน
มองในแง่ดี พระสองนิกายที่ทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองก็ทำเหมือนกัน เช่น สอนประชาชน สร้างโรงเรียนโรงพยาบาลให้บริการสังคมเหมือนกัน
มองในแง่ลบ ส่วนที่เห็นแก่ตัวติดสุขก็มีเหมือนกัน
@ ในแง่เป็นสมเด็จสังฆราช ...เจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองนิกายก็มีสิทธิ์และอยากใข้สิทธิ์เหมือนกัน แต่ว่าพระท่าน "เก็บอาการ" เก่ง เพราะถูกฝึกให้เก็บมานาน
เหมือนกันตามพระธรรมวินัยและจารีตประเพณี แต่ปัจจุบัน ที่เสียหายก็เพราะ ฆราวาสใหญ่โตบางคนที่ไปใกล้ชิดพระยุพระให้ความหวังพระ มีส่วนทำให้ท่านที่น่าจะรอคิวได้เก็บอาการไม่ค่อยอยู่ เลยเกิดเรื่องราวใหญ่โตบานปลาย ขายหน้ากันไปทั้วประเทศ
เรื่องนี้ลำพังคณะสงฆ์จบไปนานแล้ว แต่นี่ฆราวาสไปเล่นด้วย เล่นแบบมีอคติเลยไม่จบ...
@ กลับมาเรื่องเผือกร้อน เถรวาท-มหายาน ประเด็นนี้สามารถใช้ทำให้เกิดความแตกแยกได้เลย ผมทราบว่า มีบางฝ่ายกำลังใช้เป็นประเด็นไปยุพระมหายานให้มองพระเถรวาทในแง่ร้ายเห็นแก่ตัว
....แต่ผมเชื่อว่ายุไม่สำเร็จหรอก เพราะพระท่านรู้ทันและรู้ว่าคณะสงฆ์เถรวาทไม่รู้เรื่อง และญาติโยมชาวพุทธของทั้งสองนิกายก็ใจกว้างด้วย ไหว้พระทั้งสองนิกาย ถึงคราวสงกรานต์ไปวัดเถรวาท แต่ถึงคราวต้องการโชคลาภไปวัดมหายาน(ไหว้เจ้าแม่กวนอิม) มิหนำซ้ำเลยไปวัดอขกสีลม (ไหว้พระพิฆเนศ)
@ อย่างไรก็ตาม เราชาวพุทธรู้ว่า พระมหายานไม่สบายใจในวรรคทองของรัฐธรรมมนูญ เรารับจะดูแล...
นี่แหละถึงต้องมีนักการเมืองชาวพุทธไปทำงานในสภา..นะพ่อแม่พี่น้อง
ดร.บรรจบ บรรณรุจิ นักวิชาการพระพุทธศาสนา
+×÷=+×÷=
@ กรธ. ภายใต้การดูแลของ คสช. ได้เพิ่มประเด็นร้อนและเปราะบางไว้ใน รัฐธรรมมนูญคือ มาตรา ๖๗ ที่มีข้อความตอนหนึ่งว่า
"....รัฐพึงให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเถรวาท...."
@ ประโยคนี้ประโยคเดียว กรธ. คิดว่าอาจเป็นวรรคทองที่ทำให้ได้ใจชาวพุทธไทย โดยเฉพาะพระสงฆ์ไทย
เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธเถรวาท แต่นี่คือเผือกร้อนที่ชาวพุทธไทยกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
เพราะสังคมไทยเวลานี้มิได้มีแต่เถรวาท แต่ยังมีคณะสงฆ์มหายานอยู่ร่วมด้วยภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับ พุทธศักราช ๒๕๐๕ และฉบับแก้ไข พุทธศักราช ๒๕๓๒
ซึ่งก็มีทั้งคณะสงฆ์จีน (พระจีน) กับคณะสงฆ์ญวณ (พระญวณ) คณะสงฆ์ ๒ นิกายนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมาตลอด
และการปกครองแม้ดูเหมือนจะเป็นอิสระแก่ตน แต่เอาเข้าจริงก็ต้องผ่านพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชของคณะสงฆ์ไทย ดังนั้น สมเด็จพระสังฆราชไทยจึงมีความหมายต่อคณะสงฆ์ทั่งสองนิกายด้วยเช่นกัน
@ คำถามก็คือ ที่ว่าร้อนแล้วมันร้อนอย่างไร ?
เรื่องต่อไปนี้น่าจะเป็นคำตอบได้...หลังจากวรรคทองนี้เผยแพร่ พระญวณรูปหนึ่งบึ่งมาหาผมเลย ท่านบอกว่ามาในนามคณะสงฆ์ของท่านเพื่อปรึกษาเรื่องรัฐธรรมมนูญ แล้วถามว่า..
การที่เขียนระบุว่า "พึงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเถรวาท" จะมีผลกระทบมหายานไหม? ท่านเกรงว่า อาจทำให้เกิดการตีความตามตัวอักษรแล้วตัดการอุปถัมภ์คณะสงฆ์นิกายมหายาน เพราะอ้างว่าไม่มีเขียนไว้ในรัฐธรรมมนูญ
@ ท่านยังร้อนต่อ...ท่านบอกว่าถามคณะกรรมการร่าง กรรมการร่างว่าไม่มีปัญหา แต่อาตมาเกรงว่าจะมีในกาลข้างหน้า เพราะรัฐบาลบางรัฐบาลอาจตีความแบบไม่ให้
เรื่องนี้ ผมตอบท่านไม่ได้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด เพราะระยะหลังการตีความกฏหมายที่บ้านเราดูแปร่งๆมีทั้งตีความแบบช่วยคนที่ต้องการช่วยและเล่นงานคนที่ต้องการเล่นงาน นักกฏหมายไทยทำได้หมด...พระท่านกลัวอย่างนั้น
แต่ที่ผมไม่เห็นด้วย คือ ที่ท่านบอกว่า บางทีนายกรัฐมนตรีอาจไม่ใช่พุทธ ผมเลยบอกท่านว่า ถ้าท่านกลัวอย่างนั้นก็ต้องให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นไม่ได้ ...ท่านพยักหน้า
@ ประเด็นร้อนต่อมา คือ คำถามเรื่องเถรวาท-มหายาน ว่า คืออะไร ? คำถามนี้มาถึงผมเยอะมากจนผมต้องหยิบมาเขียน คำทั้งสองเป็นชื่อของนิกาย (school, sect) ซึ่งใช้แบ่งกลุ่มคนที่นับถือพระพุทธศาสนาออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่
กลุ่มหนึ่งเรียกว่า เถรวาท คือ กลุ่มที่ยึดถือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระเถระ ๕๐๐ รูป เริ่มตั้งแต่พระมหากัสสปะทำสังคายนาไว้ ปัจจุบันกลุ่มนี้เผยแพร่เป็นหลักอยู่ในลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร และในส่วนต่างๆของโลก เช่น อเมริกา ยุโรป
อีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหายาน คือ กลุ่มที่ยึดแนวปฏิรูป ปรับวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาบางเรื่องให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น เครื่องนุ่งห่มและพิธีกรรม เผยแพร่เป็นหลักอยู่ในจีน เกาหลี เวียตนาม ญี่ปุ่น
@ พระพุทธศาสนาไทยเข้าใจกันเป็นแบบเถรวาท แต่เถรวาทในไทยก็แยกไปเป็นมหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย ในสมัย ร. ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เราแบ่ง เป็นคามวาสี (พระบ้าน, พระอยู่วัดที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน) กับ อรัญญวาสี หรือ วนวาสี (พระป่า, พระอยู่วัดที่อยู่ในเขตป่า) สมัยสุโขทัย แค่วัดอยู่นอกกำแพงเมืองก็เป็นวัดป่าแล้ว
พระในเมืองไทยจาก ๒ นิกาย เรียกสั้นๆว่า พระธรรมยุต พระมหานิกาย ซึ่ง ณ วันนี้ก็แยกไม่ออก เพราะมีวิถีชีวิตไม่ต่างกัน เช้าบิณฑบาต สายลงทำวัตรเช้า เย็นทำวัตรเย็น กลางวันรับกืจนิมนต์ เหมือนกัน เป็นเนื้อนาบุญเหมือนกัน รับการพระราชทานสมณศักดิ์จากพระเจ้าอยู่หัวเหมือนกัน รับการถวายปัจจัย ๔ และสิ่งเกินปัจจัย ๔ คือเงินเหมือนกัน
มองในแง่ดี พระสองนิกายที่ทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองก็ทำเหมือนกัน เช่น สอนประชาชน สร้างโรงเรียนโรงพยาบาลให้บริการสังคมเหมือนกัน
มองในแง่ลบ ส่วนที่เห็นแก่ตัวติดสุขก็มีเหมือนกัน
@ ในแง่เป็นสมเด็จสังฆราช ...เจ้าประคุณสมเด็จทั้งสองนิกายก็มีสิทธิ์และอยากใข้สิทธิ์เหมือนกัน แต่ว่าพระท่าน "เก็บอาการ" เก่ง เพราะถูกฝึกให้เก็บมานาน
เหมือนกันตามพระธรรมวินัยและจารีตประเพณี แต่ปัจจุบัน ที่เสียหายก็เพราะ ฆราวาสใหญ่โตบางคนที่ไปใกล้ชิดพระยุพระให้ความหวังพระ มีส่วนทำให้ท่านที่น่าจะรอคิวได้เก็บอาการไม่ค่อยอยู่ เลยเกิดเรื่องราวใหญ่โตบานปลาย ขายหน้ากันไปทั้วประเทศ
เรื่องนี้ลำพังคณะสงฆ์จบไปนานแล้ว แต่นี่ฆราวาสไปเล่นด้วย เล่นแบบมีอคติเลยไม่จบ...
@ กลับมาเรื่องเผือกร้อน เถรวาท-มหายาน ประเด็นนี้สามารถใช้ทำให้เกิดความแตกแยกได้เลย ผมทราบว่า มีบางฝ่ายกำลังใช้เป็นประเด็นไปยุพระมหายานให้มองพระเถรวาทในแง่ร้ายเห็นแก่ตัว
....แต่ผมเชื่อว่ายุไม่สำเร็จหรอก เพราะพระท่านรู้ทันและรู้ว่าคณะสงฆ์เถรวาทไม่รู้เรื่อง และญาติโยมชาวพุทธของทั้งสองนิกายก็ใจกว้างด้วย ไหว้พระทั้งสองนิกาย ถึงคราวสงกรานต์ไปวัดเถรวาท แต่ถึงคราวต้องการโชคลาภไปวัดมหายาน(ไหว้เจ้าแม่กวนอิม) มิหนำซ้ำเลยไปวัดอขกสีลม (ไหว้พระพิฆเนศ)
@ อย่างไรก็ตาม เราชาวพุทธรู้ว่า พระมหายานไม่สบายใจในวรรคทองของรัฐธรรมมนูญ เรารับจะดูแล...
นี่แหละถึงต้องมีนักการเมืองชาวพุทธไปทำงานในสภา..นะพ่อแม่พี่น้อง
ดร.บรรจบ บรรณรุจิ นักวิชาการพระพุทธศาสนา
ประเด็นร้อน เถรวาท - มหายาน ในรัฐธรรมมนูญ ฉบับ คสช. !!!
Reviewed by Unknown
on
02:10
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: