อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน!!!
การทอดกฐินถือเป็นการทำบุญพิเศษซึ่งผู้ทอดต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องร่วมมือกันหลายคนถึงจะสำเร็จ!
จึงเชื่อกันว่า การทอดกฐินเป็นพิธีที่ก่อให้เกิดบุญที่มีอานิสงส์แรง!!
ผลดีของการทอดกฐินนั้นมีหลายประการคือ ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผ้านุ่งห่มใหม่ ได้ชื่อว่าทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ได้ชื่อว่าก่อให้เกิดความสามัคคีเพราะเป็น การร่วมมือกัน ทำคุณงามความดี
และหากการถวายกฐินนั้น มีส่วนในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ก็จะได้ชื่อว่า มีส่วนช่วยรักษา ศาสนสถานและศาสนวัตถุ ให้ยั่งยืนต่อไป
นอกจากนี้ การทอดกฐินมิได้มีอานิสงส์เฉพาะเจ้าของกฐินเท่านั้น แม้ผู้ชักชวนให้ผู้อื่นทอดกฐิน ก็ได้รับอานิสงส์เช่นกัน
ดังหลักฐานใน "นรชีวกฐินทานชาดก" ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาสชาดก ได้เล่าเรื่องที่พระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเกิดเป็นนายนรชีวะอยู่ในครอบครัวยากจน
แต่ได้ชักชวนเศรษฐี ที่มีความเลื่อมใส ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ให้มีศรัทธา ถวายผ้ากฐิน แด่พระภิกษุสงฆ์ ที่มีพระพุทธองค์ ทรงเป็นประธาน เศรษฐีมีความยินดี จัดกฐินไปถวาย พระภิกษุสงฆ์และทูลถาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงผลหรืออานิสงส์ แห่งการถวายผ้ากฐิน
พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า..
“บุคคลเหล่าใดปรารถนาหาความสุขนั้น ได้ถวายผ้ากฐินจีวรไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพ้นจากความทุกข์
เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมจะถึงความสุขในหมู่เทวดาและมนุษย์ และจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี้เป็นผลแห่งกฐินทาน”
กฐินทานเป็นกาลทานอันยิ่งใหญ่
ที่ก่อให้เกิดอานิสงส์มากมาย
แก่ผู้ทอดถวาย
เมื่อเศรษฐีได้ฟังอานิสงส์กฐินทานเช่นนั้น ก็มีใจชื่นบานยิ่งนัก
ส่วนนายนรชีวะที่หมอบกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า ได้กราบทูลว่า ตนเป็นผู้ชักชวนให้เศรษฐีมาทำบุญสำเร็จด้วยกาย วาจา ใจ จึงขอตั้งวาจาธิษฐานว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพระองค์ได้ชักนำกุฎุมพี (เศรษฐี) ให้ถวายผ้ากฐินนี้
ขอให้ข้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในกาลภายหน้า แม้ข้าพระองค์ยังไม่ไปถึงความเป็นพระพุทธเจ้าตราบใด ชื่อว่าความเข็ญใจอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า”
พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ด้วยผลแห่งบุญนั้น นายนรชีวะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีในอนาคตกาล ก็คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในปัจจุบันนี้นี่เอง
ขอบคุณภาพจาก google.com
Cr.kalyanamitra
กฐินทานมีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น คือ ในปีหนึ่งแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว !!
นอกจากนั้นยังมีความพิเศษอย่างอื่นอีก ได้แก่
๑. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
๒. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา๑ เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
๓. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
๔. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
๕. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐินต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป
๖. จำกัดคราว คือ วัดวัดหนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น
๗. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่นมหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน
**แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง ไม่มีผู้ใดมาทูลขอ..
**พิธีทอดกฐินเป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็น กาลทาน แปลว่า ถวายตามกาลสมัย และถือเป็นประเพณีของชาวพุทธที่สืบเนื่องติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
ขอบคุณภาพจาก google.com
Cr.kalyanamitra
"กฐิน" มีความหมายเกี่ยวเนื่องถึง ๔ ประการ คือ
๑. กฐิน หมายถึง ไม้สะดึง คือกรอบไม้แบบชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือเย็บจีวรซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง
ในสมัยก่อนการเย็บจีวรต้องใช้ไม้สะดึงขึงให้ตึงก่อนแล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้
การทำจีวรในสมัยโบราณ ทั้งที่เป็นผ้ากฐินและมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเองก็จัดเป็นงานที่เอิกเกริกเลยทีเดียว มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ ว่า :
ครั้งเมื่อพระอนุรุทธเถระได้ผ้าบังสุกุลมาและจะทำจีวรเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบและเสด็จไปเป็นประธานในวันนั้นพร้อมพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป และพระอสีติมหาสาวก
เพื่อร่วมกันช่วยทำ โดยมีพระมหากัสสปเถระนั่งอยู่ต้นผ้า พระมหาสารีบุตรเถระนั่งอยู่ท่ามกลาง พระอานนทเถระนั่งอยู่ปลายผ้าพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้าย
พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นผู้อุดหนุนกิจการทั้งปวง แสดงถึงพลังความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ อันเป็นพระพุทประสงค์ในการทำผ้ากฐิน
๒. กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึง ผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือนนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ผ้าที่ถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาดผ้าเก่า ผ้าบังสุกุลคือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว ผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้
ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ เมื่อถวายแด่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
๓. กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแด่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน
เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด
การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกว่า “ทอดกฐิน” คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์
เรียกได้ว่าเป็นกาลทาน คือ การถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล ๑ เดือน ถ้าถวายก่อนหน้านั้นหรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก
๔. กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ ซึ่งจะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก และไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วัน
แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว ทรงอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บผ้าไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาวอีก ๔ เดือน (จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๔)
ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลงานบุญ กฐิน ขอเชิญชวนชาวพุทธทุกคน ขวนขวายสร้างบุญใหญ่ ด้วยการทอดกฐิน ณ วัดใกล้บ้าน
กำหนดกฐินกาล ปี 2559 นี้ เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ถึงวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันสุดท้าย (วันลอยกระทง)
ขอบคุณภาพจาก google.com
Cr.kalyanamitra
เรื่องแปลกๆ ที่ชาวพุทธ(?) ไทยมักให้ความสำคัญมากกว่าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เรานับถือพระพุทธศาสนากันจริงๆ หรือเปล่า?
เราบอกว่า เรานับถือ "พระพุทธศาสนา" เราบอกว่า "ฉันเป็นชาวพุทธ" แต่น่าแปลกที่เราเหมือนจะไม่ได้นับถือพระพุทธเจ้า ไม่ได้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ในชาดกหลายพระชาติแห่งการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ได้กล่าวถึงพระชาติที่เกิดเป็นพญานาค เช่นเสวยพระชาติเป็น ภูริทัตตนาคราช, เสวยพระชาติเป็นจัมเปยยนาคราช
เห็นชัดว่า นาคราชทั้งสองเรื่อง ท่านต่างก็รังเกียจสภาวะนาคของตนเองซึ่งเป็น "สัตว์เดรัจฉาน" และปรารถนาจะอุบัติเป็นมนุษย์ เพื่อที่จะได้บำเพ็ญบุญกุศล ได้ปฏิบัติธรรม ดังข้อความหนึ่งในจัมเปยยชาดกว่า
[" เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าเสวยนาคราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพนั้น ในเวลาต่อมาก็เกิดวิปฏิสาร คิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยกำเนิดดิรัจฉานนี้แก่เรา เราจักอยู่รักษาอุโบสถกรรม พ้นจากอัตภาพนี้ไปสู่ดินแดนมนุษย์ จักได้แทงตลอดสัจจธรรม กระทำที่สุดแห่งทุกข์ดังนี้ "]
แท้ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนามุ่งเน้นในศักยภาพของมนุษย์เป็นสำคัญ เพราะมนุษย์สามารถจะประกอบกิจการกุศลนานาประการ
แม้แต่เทวดาก็ยังปรารถนาสุคติคือความเป็นมนุษย์ ดังในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต กล่าวถึงเทวดาเมื่อจะจุติ (ตาย) จากสวรรค์ไปเกิดใหม่ เทวดาเพื่อนก็จะบอกว่า ขอให้ท่านไปอุบัติในสุคติภูมิ คือโลกมนุษย์
เพื่อจะได้ทำบุญทำกุศล ได้พบพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญธรรมปฏิบัติธรรม
เมื่อเราศึกษาพระพุทธศาสนาจะเห็นว่า พระพุทธศาสนามุ่งจะพัฒนาศักยภาพของมนุษย์เป็นหลัก
ให้มนุษย์มั่นใจว่าเราเป็นผู้ที่สามารถจะพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยตัวเราเอง โดยไม่ต้องอาศัยไม่ต้องขอร้องอ้อนวอนผู้ยิ่งใหญ่ที่ไหน
นั่นแสดงว่า มนุษย์สำคัญที่สุด ในแง่ที่ มีศักยภาพที่จะปฏิบัติธรรมที่จะหลุดพ้นด้วยตนเอง
ถ้าเราบอกว่า "ข้าพเจ้าเป็นชาวพุทธ" เราบอกว่า "ข้าพเจ้านับถือพระรัตนตรัย" เราเปล่งคำว่า "พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ"
แต่เราไม่เคยรู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นใคร ไม่รู้ว่าพระองค์สั่งสอนอะไร ไม่รู้หนทางปฏิบัติเพื่อที่จะหลุดพ้นจากทุกข์ โดยที่มีพยานยืนยันคำสอนของพระองค์คือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เรากลับไปไหว้พญานาค ไหว้พญาครุฑ ไหว้อะไรแปลกๆ ประหลาดๆ .. อย่างนี้จะเรียกว่าเรา "นับถือพระพุทธศาสนา" ได้จริงๆ หรือ?
ถ้าเราบอกว่าเรานับถือพระรัตนตรัย นั่นหมายความว่า เราจะไม่ไหว้สิ่งอื่น ไม่เคารพสิ่งอื่น นอกจากผู้ที่ควรบูชา เช่นบิดามารดา ผู้มีพระคุณ และพระรัตนตรัย
Cr.ภิกขุวีระวังสะ
ขอบคุณภาพจาก google.com
การดำรงชีวิตของชาวพุทธอีสาน ตั้งแต่น้อมรับเอาพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งมีมายาวนาน สืบลูกสืบหลานจนถึงปัจจุบัน!!
จึงเป็นเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสร้างสรรค์ตราสัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัดขึ้นมาได้
ตอนนี้ ภาคอีสาน บางจังหวัดกำลังร้อนระอุ อันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจกันระหว่างศาสนิกต่างศาสนา
ไม่รู้ว่าสถานการณ์ “ความร้อน” ท่ามกลางฤดูฝนแบบนี้ หน่วยความมั่นคงของรัฐ “รับรู้” หรือเปล่า??
แต่เห็นคลิปทางสื่อออนไลน์มีการปะทะคารมกันอย่างแรง ระหว่างข้าราชการระดับสูงจังหวัดหนึ่งกับชาวบ้านที่ต่อต้าน
พวกเราในฐานะ “ชาวพุทธ” ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า...อนาคตดินแดน อีสาน ที่เคยสงบ เป็นดินแดนแห่งพระอริยสงฆ์หลายรูป วันหนึ่งอาจไม่สงบอีกต่อไป
ผมได้อ่านบทความของ อาจารย์สรณา อนุสรณ์ทรางกูร จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี เล่าถึง “วิถีชีวิตชาวพุทธในแดนอีสาน” ว่า เป็นคนรักสันติ รักสงบ อย่างน่าสนใจไว้ ดังนี้
“วิถีชีวิตของชาวพุทธทางภาคอีสาน” เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและสมถะ มีพระอริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่นับถือของชาวไทยและชาวต่างประเทศมากมาย เช่น หลวงปู่มั่น หลวงพ่อชา หลวงปู่ดุลย์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ศรี หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่ขาว หลวงตามหาบัว เป็นต้น
พระอริยสงฆ์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนเป็นลูกหลานของ “ชาวพุทธอีสาน” ทั้งสิ้น ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษและยึดถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งด้วยความเคารพและศรัทธาเสมอมานับพันปี
มากล่าวย้อนหลังให้ความรู้และเข้าใจในบริบทสังคมของ ภาคอีสาน เพียงเล็กน้อยก่อน เพื่อปูทางให้ผู้อ่านได้เรียนรู้และเข้าใจ “ชาวพุทธทางภาคอีสาน” เพิ่มมากขึ้น คำว่า “อีสาน” เป็นภาษาบาลี แปลว่า ตะวันออกเฉียงเหนือ
ชาวไทยทางภาคอีสานจึงมักเรียกตัวเองว่า คนไทยภาคอีสาน เนื้อที่ของภูมิภาคนี้มีมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนึ่งใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย
คนพื้นถิ่นใช้ภาษาอีสานเป็นภาษาหลัก และมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก หรือเปรียบเสมือนศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำภาคอีสานก็ว่าได้ ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น
ผู้เขียนไม่ได้กล่าวลอยๆ หรือบิดเบือนทางประวัติศาสตร์ มาดูตัวอย่างกันว่า ภาครัฐใช้ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้ง 20 จังหวัดของภาคอีสาน และคำขวัญประจำจังหวัดหรือคำขวัญเพื่อการท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ ถือเป็นการยอมรับทั้งด้านนิตินัยและพฤตินัยของ “ชาวอีสาน” อย่างแท้จริง!
โดยไม่ได้ใช้อำนาจจากภาครัฐในการบังคับใช้กฎหมาย แต่กฎหมายเหล่านี้เป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลองของภูมิวัฒนธรรมชุมชนและท้องถิ่นที่เป็นจริงตามวิถีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนับพันปี
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงขอทบทวนย้อนประวัติศาสตร์ชาวพุทธไทยและชาวพุทธภาคอีสาน เมื่อ พ.ศ. 236 จนถึงปัจจุบัน (2559) นับเวลาได้ 2,323 ปี
การดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์ของชาวพุทธอีสานตั้งแต่น้อมรับเอาพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้คนในดินแดนแห่งนี้มีความเป็นมาในระยะเวลาที่ยาวนาน สืบลูกสืบหลานกันมาจนถึงปัจจุบันหลายชั่วอายุคน
จึงเป็นเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่สามารถจะสร้างสรรค์ตราสัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัดขึ้นมาได้โดยอาศัยเหตุผลเหล่านี้สนับสนุน
ทั้งนี้ จังหวัดทางอีสาน 20 จังหวัด มีตราและคำขวัญที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ดังที่จะกล่าวตามลำดับตัวอักษรจาก ก - ฮ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้
กาฬสินธุ์ คำขวัญ หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง...
ขอนแก่น ใช้ตราพระธาตุขามแก่น คำขวัญ พระธาตุขามแก่น...
ชัยภูมิ คำขวัญการท่องเที่ยว...พระใหญ่ทวารวดี
นครพนม ใช้ตราพระธาตุพนม คำขวัญ พระธาตุพนมค่าล้ำ...
นครราชสีมา คำขวัญ...ปราสาทหิน...
บึงกาฬ ใช้ตราภูทอก คำขวัญ ภูทอกแหล่งพระธรรม... นมัสการหลวงพ่อใหญ่...
บุรีรัมย์ ใช้ตราปราสาทหิน คำขวัญ เมืองปราสาทหิน...
มหาสารคาม ใช้ตราต้นรังใหญ่ (ต้นสาละใหญ่) คำขวัญ พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม...
มุกดาหาร ไม่ได้ใช้ตราและคำขวัญเกี่ยวข้องกับพุทธ แต่โบราณสถานทางศาสนาพุทธและวัดที่เป็นที่เคารพนับถือของคนในจังหวัด...
ยโสธร ใช้ตราพระธาตุอานนท์ ร้อยเอ็ด ใช้ตราพระมหาเจดีย์ชัยมงคล คำขวัญ...เรืองนามพระสูงใหญ่ ...บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล...
เลย ใช้ตราพระธาตุศรีสองรัก คำขวัญ...ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์... ศรีสะเกษ ใช้ตราปรางค์กู่ คำขวัญ หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม...
สกลนคร ใช้ตราพระธาตุเชิงชุม คำขวัญ พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน... ...ถิ่นมั่นในพุทธธรรม
สุรินทร์ ใช้ตราพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ปราสาทหินศรีขรภูมิ คำขวัญ...งามพร้อมวัฒนธรรม
หนองคาย คำขวัญ...หลวงพ่อพระใส... หนองบัวลำภู คำขวัญ ...แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว...
อำนาจเจริญ ใช้ตราพระมงคลมิ่งเมือง คำขวัญ พระมงคลมิ่งเมือง...งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา...ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม
อุดรธานี ใช้ตราท้าวเวสสุวรรณทรงยืนถือกระบอง คำขวัญ...ลือเลื่องแหล่งธรรมะ...
อุบลราชธานี ใช้ตราดอกบัว คำขวัญ อุบลเมืองดอกบัวงาม...ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา......
ตราสัญลักษณ์และคำขวัญทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า...บริบทสังคมไทยของ ภาคอีสาน เป็นสังคมพุทธศาสนา
วิถีชีวิตของคนในภูมิภาคนี้ตั้งแต่เกิดจนตาย วัยเด็กถึงวัยชรา ล้วนเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธทั้งสิ้น
จึงกล่าวได้ว่าพฤตินัยและนิตินัยไม่ขัดแย้งกัน ที่จะใช้คำว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำภาคอีสานได้เต็มคำพูด
เพราะสามารถนำสันติสุขมาสู่ภูมิภาคนี้และสังคมนี้ได้โดยไม่เคยมีการรบราฆ่าฟันไม่เคยทำสงครามไม่เคยขัดแย้งด้านความเชื่อ
ผู้คนจึงมีแต่ความเบิกบานและตื่นรู้ในหลักคำสอนตามคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธองค์
และศาสนาพุทธจึงเปรียบเสมือนผู้ทำให้บริบทสังคมในภาคอีสาน เบ่งบานเหมือนดอกบัวที่รับแสงอาทิตย์ รู้ทันและตื่นรู้ไปพร้อมกันทั้ง 20 จังหวัด
ความสงบสุข สันติภาพ สันติสุขที่แท้จริงไม่เจือปน จึงเกิดขึ้นในสังคมอีสานตลอดมาจนปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 2,323 ปีมาแล้ว
ตอนนี้ขอภาวนา หวังว่า “ชาวพุทธในภาคอีสาน” ยังยึดมั่น ยังรักสันติอยู่เหมือนเดิม เพราะแว่วๆ มาว่าจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดสกลนคร กำลังเผชิญหน้าระหว่างศาสนิกต่างศาสนา...
….............................
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com...
เครดิตภาพ https://my.dek-d.com, http://isantemple.blogspot.com, http://www.painaidii.com, www.painaidii.com6
Cr.dailynews
>>การเสื่อมสลายของพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป เนื้อหากล่าวถึง “ศังกราจารย์ เจ้าลัทธิฮินดู” ว่าเป็นสาเหตุหลักของความเสื่อมของพุทธในอินเดีย!!
โดยพยายามเชื่อมโยงให้เห็นว่า วัดพุทธบางแห่งในปัจจุบันก็กำลังทำลายพระพุทธศาสนาด้วยวิธีการเดียวกับศังกราจารย์
->บทความนี้ทำให้ผู้ที่ไม่รู้ประวัติศาสตร์ศาสนาในอินเดียเข้าใจผิด และสร้างความแตกแยกในพระพุทธศาสนา จึงจำเป็นต้องเขียนชี้แจงความจริง
->ความจริงเมื่อคิดว่า “ ศังกระ ” เป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนา ก็ไม่ควรจะไปยกย่องเรียกเขาว่าอาจารย์เลย (คำว่า ศังกราจารย์ มาจากชื่อเดิมว่า ศังกระ + อาจารย์ = ศังกราจารย์ )
->จุดพลาดอย่างสำคัญของบทความนี้ คือ มองข้ามความจริงพื้นฐานว่า ศังกระไม่ใช่พระภิกษุแต่เป็นนักบวชในศาสนาฮินดูจนตลอดชีวิต เป็นผู้เขียนคัมภีร์สำคัญของศาสนาฮินดูลัทธิเวทานตะหลายเล่ม
ศังกระไม่เคยเคารพพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา และไม่เคยยอมรับพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สูงสุด เพียงแต่เลียนแบบพุทธ คือ เดิมฮินดูไม่เคยมีศาสนสถานที่มีนักบวชอยู่
ศังกระได้นำเอารูปแบบแนวคิดของวัดในพระพุทธศาสนาไปปรับใช้สร้างเป็นศาสนสถานของฮินดู เรียกว่า มฐะ และสอนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระวิษณุอวตารปางที่ 9 เพื่อหวังดึงชาวพุทธมานับถือศาสนาฮินดู
->พฤติกรรมที่คล้ายศังกระในยุคใกล้ๆนี้คือ การที่มีบาทหลวงคริสต์บางท่านประกาศว่า พระพุทธเจ้าคือ ประกาศก ผู้มาแจ้งข่าวล่วงหน้าถึงการมาของพระเยซู ดังนั้นชาวพุทธทั้งหลายที่นับถือพระพุทธเจ้าก็คือชาวคริสต์นั่นเอง แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะคนรู้ทันกันแล้ว
->ศังกระไม่เคยชวนคนมาเคารพบูชาพระพุทธเจ้า ไม่เคยชวนคนมาศึกษาพระไตรปิฎก ไม่เคยชวนคนมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เขามีแต่หยิบยืมแนวคิดของพุทธไปใช้ในศาสนาฮินดูของเขาเท่านั้น
->ดังนั้นวัดในพระพุทธศาสนาที่ไม่มีรูปเคารพของเทพเจ้าฮินดู เจ้าพ่อ เจ้าแม่ต่างๆเลย มีแต่สิ่งที่เนื่องด้วยพระรัตนตรัย ตั้งใจชวนคนเข้าวัดมากๆ บวชพระภิกษุมากๆ
ส่งเสริมการศึกษาพระไตรปิฎก ภาษาบาลี พระปริยัติธรรมอย่างเต็มที่ จึงส่งผลเป็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ตรงกันข้ามกับพฤติกรรมของศังกระโดยสิ้นเชิง
->พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตราบใดที่พุทธบริษัทยังสมัครสมานสามัคคีกัน และรักการประพฤติปฏิบัติธรรม พระพุทธศาสนาก็ยังมั่นคงอยู่ตราบนั้น
การเขียนบทความชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิด ยุแหย่ให้เกิดความเกลียดชังสร้างความแตกแยก จึงเป็นการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวพุทธที่แท้ไม่ควรทำ
<<+พระพุทธศาสนาเป็นพลังสร้างสรรค์+>>
**พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการสร้างสรรค์ พระพุทธเจ้าไม่เคยตามจับผิด นินทาว่าร้ายใคร มุ่งแต่สอนคนให้เป็นคนดี พระพุทธศาสนาจึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตรงข้าม พวกเดียรถีย์ที่มุ่งทำลายล้าง คอยจับผิดพระพุทธเจ้า ใส่ร้ายป้ายสีสารพัด กลับพบแต่ความเสื่อม
>ชาวพุทธใดก็ตามที่มีพฤติกรรมคอยแต่จับผิดวิพากษ์วิจารณ์คนที่เขาตั้งใจทำความดี พึงรู้ตัวเถิดว่า ตนกำลังหลงดำเนินไปตามเส้นทางของเดียรถีย์ ซึ่งจะมีแต่นำความเสื่อมมาสู่ตนและพระพุทธศาสนา
<<+แม่บทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา+>>
**พระพุทธเจ้าทรงประทานแม่บทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ชัดเจนว่า
_1. ห้ามว่าร้ายใคร
_2. ห้ามทำร้ายใคร
_3. สำรวมระวังความประพฤติของตนให้ดี
ใครไปว่าร้าย จับผิด เอาแต่วิพากษ์วิจารณ์คนอื่น พึงรู้ตัวเถิดว่าตนกำลังทำผิดคำสอนพระพุทธเจ้าแล้ว ขอให้เลิกพฤติกรรมนั้นเสีย
แล้วหันมาใช้พลังในทางสร้างสรรค์ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมแบบที่ตนชอบให้มากที่สุด ถ้าทุกคนทุกวัด ช่วยกันทำอย่างนี้ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญ บ้านเมืองก็จะสงบร่มเย็น
>>“ พระพุทธศาสนาเป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์ ใครใช้ความรู้ไปในทางทำลายล้าง คนนั้นเดินนอกทางพระพุทธเจ้า ”<<
Cr.พุทธสามัคคี
ในปี 2016 พม่ายังคงเป็นชาติที่ผู้คนใจบุญสุนทานมากที่สุดในโลก
ขณะที่ชาวอิรักแสดงน้ำใจต่อคนแปลกหน้าที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด!!
ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิ Charities Aid Foundation (CAF) ระบุ
ดัชนี World Giving Index ซึ่งจัดทำโดย CAF พบว่า ชาวอิรักร้อยละ 81 เคยให้ความช่วยเหลือคนแปลกหน้าในรอบ 1 เดือนก่อนการสำรวจ
นับเป็นปีแรกตั้งแต่ CAF เริ่มทำการสำรวจในปี 2010 ที่ประชากร “เกินครึ่ง” ใน 140 ประเทศทั่วโลกระบุว่าพวกเขาได้ให้ความช่วยเหลือแก่คนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน โดยกลุ่มที่ช่วยเหลือมากที่สุดมักอยู่ในประเทศที่กำลังเผชิญภัยพิบัติหรือสงคราม
ชาวอิรักถูกยกให้เป็นชนชาติที่มีน้ำใจต่อคนแปลกหน้ามากที่สุดต่อเนื่องถึง 2 ปีซ้อน ขณะที่ลิเบียติดอันดับ 2 ในปีนี้
แม้จะเกิดสงครามกลางเมืองยืดเยื้อมานานถึง 25 ปี แต่ชาวโซมาเลียยังช่วยเหลือคนแปลกหน้ามากเป็นอันดับ 4
พม่ายังคงรั้งอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ในดัชนี World Giving Index ซึ่งมุ่งวัดพฤติกรรมที่สะท้อนความใจบุญสุนทานของพลเมืองในแต่ละประเทศ
โดยจะสอบถามข้อมูลว่า พวกเขาบริจาคเงินแก่มูลนิธิ เป็นอาสาสมัคร และให้ความช่วยเหลือคนแปลกหน้าบ่อยแค่ไหน
CAF พบว่า ชาวพม่า 9 ใน 10 เคยบริจาคทรัพย์สินในช่วง 1 เดือนก่อนการสำรวจ
ความใจบุญของชาวพม่ามีที่มาจากคำสอนในพุทธศาสนานิกายเถรวาท และประเพณีการทำ “สังฆทาน” ซึ่งหมายถึงการให้ทานแก่พระสงฆ์
ประเทศที่คนมีน้ำใจมากที่สุดรองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และศรีลังกา
สำหรับประเทศไทยได้รับการจัดไว้ในอันดับที่ 37 ของโลก และเป็นที่ 5 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากพม่า (1) อินโดนีเซีย (7) มาเลเซีย (28) และสิงคโปร์ (28)
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่าจำนวนคนไทยที่บริจาคเงินช่วยการกุศลในรอบ 1 เดือนก่อนการสำรวจ อยู่ที่ร้อยละ 63 น้อยกว่าเมื่อปี 2015 ถึง 24 จุด
ดัชนี World Giving Index อาศัยข้อมูลจากแกลลัปโพล ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนใน 140 ประเทศทั่วโลก
Cr.รอยเตอร์/MGROnline -
ทำไม “วัดพระแก้วมรกตไม่มีพระสงฆ์?” หลวงปู่มั่นเคยบอกไว้
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม) วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร)
ได้ไปกราบนมัสการฟังเทศน์ และได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาด เพราะมีฝุ่นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ
หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว ท่านพระอาจารย์ได้ทำความสะอาด โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ-ภิเนษกรมณ์) เอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านหันมาเห็นเข้า พูดว่า
"อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้"
ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง
เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้วย ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต ท่านว่า
"พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม"
การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ
1.เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2.เกิดกลียุคในประเทศนั้น และ3.ด้วยความรัก
และท่านยังบอกอีกว่า วัดพระแก้วนี้เป็นวัดพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรมเนียม เพราะพระพุทธเจ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และผู้สุขุมาลชาติ เมื่อพระสงฆ์ไม่รู้พุทธธรรมเนียม ถ้าไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว
ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวเท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่ของไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรงรู้มาแล้ว ได้ทรงสร้างวัดถวายจำเพาะพระแก้วเท่านั้น
พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า
ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวัด แม้แต่ชาวต่างชาติ มีโอกาสเข้าไปในบริเวณวัดพระแก้ว จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้ ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้
ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm
หนังสือ "รำลึกวันวาน" บันทึกโดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
วีดีโอประกอบ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=420112534851269&id=369369789925544&_rdr
ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
....
พระพุทธองค์ทรงตรัส บุคคลผู้นั้นย่อมมีความฉิบหาย ด้วยเหตุดังนี้
๑.ย่อมถูกโรคอย่างหนัก คือ ย่อมป่วยด้วยโรคอันหนักทำให้ถึงแก่ชีวิต
๒.ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน
๓.เป็นผู้หลงใหลเมื่อทำกาละ คือ ตายแบบไม่รู้ตัว
๔.เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก หรือ หากเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ที่ไ่ม่มีปาก
....
เมื่อตายจากโลกมนุษย์ เขาผู้นั้นจะตกนรกถูกไฟเผาใหม้อยู่ชั่วกาลนาน พญายมราช กรอกน้ำเหล็กทองแดงใส่ปาก เสียบลิ้นด้วยเหล็กทองแดงแหลม ถูกไฟเผาปาก ครั้นพ้นจากนรกก็มาเกิดเป็นเปรต ครั้นพ้นจากเปรตมาเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานที่ไม่มีปาก ครั้นพ้นจากสัตว์เดรัจฉาน มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์พูดไม่ได้ เป็นมนุษย์ปากเหม็น พูดไม่มีใครเชื่อถือ จะตายเพราะปาก นี้เป็นผลกรรมที่ตำหนิพระสงฆ์
....
อนึ่งแม้ผลกรรมชั่วที่พระเทวทัตกล่า่วให้ร้ายแ่ก่พระพุทธเจ้า ย่อมส่งผลแก่พระเทวทัตถึงซึ่งความพินาศตกอยู่ในนรกนานเป็นกัปป์กัลป์ ครั้นพ้นจากนรกพระเทวทัตก็จักได้รับผลกรรมนั้นแสนสาหัส จนถึงชาิติสุดท้ายพระเทวทัต ที่จะได้บวชแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ชาตินั้นพระเทวทัตก็ปากเหม็น นี่คือผลกรรมที่กล่าวตำหนิติเตียน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
Cr. ภาพยนต์เรื่อง "หลวงพี่กับผีขนุน"
ฮือฮา ชาวอินเดียถวายที่ดินมูลค่ากว่า ๕๐ ล้านให้พระไทยสร้างวัดพุทธ
Posted by ท่านคมสรณ์ , ผู้อ่าน : 2238 , 13:42:31 น.
หมวด : ศาสนา
วันอาทิตย์ ที่ 7 สิงหาคม 2559
พระภิกษุชีวกโพธิ ชาวอินเดีย ผู้มีจิตศรัทธายกที่ดินจำนวน ๑๓ ไร่ ใกล้ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฏร์ มูลค่ากว่า ๕๐ ล้านบาท ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนาแก่ พระเทพโพธิวิเทศหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย เนปาล
โดยมีพระครูปริยัติโพธิวิเทศ(ท่านคมสรณ์) ตัวแทนผู้รับมอบ และจักดำเนินการก่อสร้างให้เป็นวัดไทย เป็นสมบัติของชาวพุทธทุกคน ณ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย และเป็นศูนย์กลางชาวพุทธแห่งเมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดียต่อไป
ท่านคมสรณ์ พระธรรมทูตอินเดีย
๗ สิงหาคม ๒๕๕๙
http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2016/08/07/entry-1
อานิสงส์กฐิน - ความหมายของคำว่า "ทอดกฐิน"
อานิสงส์กฐิน - ความหมายของคำว่า ทอดกฐิน
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
ความหมายของกฐิน
กฐินทาน คือ การถวายผ้าให้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ได้ดำรงตนอยู่ในกรอบแห่งศีล สมาธิ(Meditation) และปัญญา ผ่านการอยู่จำพรรษาตลอดฤดูฝน ณ อารามใดอารามหนึ่ง นับว่าเป็นกาลทานอันยิ่งใหญ่ ย่อมก่อให้เกิดอานิสงส์มากมายแก่ผู้ทอดถวาย
คำว่า กฐิน แปลว่า สะดึง หมายถึง ไม้ที่ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง มีทั้งรูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม เมื่อขึงผ้าด้วยสะดึงแล้วจะทำให้เย็บผ้าได้ง่ายขึ้น
แต่ในอีกความหมายหนึ่งนั้น หมายเอาผ้าจีวรที่ถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่ประจำอารามจนครบพรรษา คำว่า ทอดกฐิน จึงหมายถึง การน้อมนำผ้าจีวรมาวางทอดลง เพื่อถวายแด่ภิกษุสงฆ์ มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใด
เทศกาลทอดกฐินจะเรียกอีกแบบ คือ ฤดูกาลเปลี่ยนผ้าใหม่ของพระภิกษุ โดยในอดีตกาล ยุคต้นที่พระพุทธศาสนาเริ่มบังเกิดขึ้น ผ้าที่ภิกษุได้มานั้นเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหรือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพในป่าช้า หรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามกองหยากเยื่อ
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะผ้าในยุคนั้นเป็นของมีค่าหาได้ยาก การที่ภิกษุแสวงหาผ้าที่ไม่มีผู้หวงแหน นำมาใช้นุ่งห่ม จึงแสดงถึงความสันโดษมักน้อยของนักบวชผู้มุ่งแสวงหาทางหลุดพ้น
ทอดกฐิน จึงหมายถึง การน้อมนำผ้าจีวรมาวางทอดลง เพื่อถวายแด่ภิกษุสงฆ์
อีกประการหนึ่ง จะได้ไม่เป็นที่หมายปองของพวกโจร จะได้ไม่ถูกขโมยหรือถูกโจรปล้นชิงไป เพราะผู้คนในสมัยนั้น รังเกียจผ้าผุปะหรือผ้าเก่าๆ ถือว่าเป็นผ้าเสนียด จึงไม่มีใครอยากได้
แต่มาภายหลังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับผ้าที่คหบดีนำมาถวายได้ เนื่องจากหมอชีวกได้กราบทูลเพื่อที่จะถวายผ้าแด่พระภิกษุ เพราะเห็นว่าพระภิกษุทั้งหลายมีความลำบากในการแสวงหาผ้าเป็นอย่างยิ่ง
รูปแบบของจีวรนั้น เกิดขึ้นจากพระดำริของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงชี้ให้พระอานนท์แลดูคันนาของชาวมคธ และให้ออกแบบตัดเย็บโดยใช้แผ่นผ้าหลายชิ้นนำมาเย็บต่อๆกันเป็นขันธ์คล้ายคันนา
เพื่อให้เป็นผ้ามีตำหนิไม่มีใครอยากได้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้จีวรมีห้าขันธ์ขึ้นไป สำหรับจีวรในปัจจุบันมีห้าขันธ์นับเฉพาะแนวตั้ง เรียกว่า มณฑล ส่วนขันธ์ย่อยเรียกว่า อัฑฒมณฑล
จีวรที่พระภิกษุใช้สอยกันในสมัยก่อนนั้น จะต้องวัดแต่ละชิ้นให้ได้สัดส่วน แล้วทำการตัดเย็บและย้อมเองซึ่งเป็นเรื่องยากและลำบากอย่างยิ่งสำหรับพระภิกษุ โดยวัสดุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นำมาย้อมผ้าจีวรได้ คือ
1.รากไม้
2.ต้นไม้
3.ใบไม้
4.ดอกไม้
5.เปลือกไม้
6.ผลไม้
เมื่อเย็บและย้อมเสร็จแล้วก็ต้องอธิษฐานให้เป็นผ้าครอง
สีที่นิยมใช้ คือ สีเหลืองเจือแดง สีเหลืองหม่น หรือสีกรัก ส่วนสีที่ห้ามใช้ได้แก่ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด สีชมพู และสีดำ เมื่อเย็บและย้อมเสร็จแล้วก็ต้องอธิษฐานให้เป็นผ้าครองต่อไป
แต่ก่อนจะนำมานุ่งห่มก็จะต้องพิจารณาผ้าเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ โดยเมื่อสำเร็จเป็นจีวรแล้ว พระภิกษุจะใช้สอยและเก็บรักษาเป็นอย่างดี เพราะถือว่าผ้าจีวรนั้นเป็นธงชัยของพระอรหันต์
เมื่อพระภิกษุได้ผ้าจีวรผืนใหม่แล้ว ผ้าผืนเก่าก็จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น นำมาทำเป็นผ้าดาดเพดาน เมื่อผ้าดาดเพดานเก่าก็จะนำมาทำเป็นผ้าปูที่นอนหรือผ้าปูฟูก ผ้าปูที่นอนผืนนั้นเมื่อเก่าแล้วก็จะนำมาทำเป็นผ้าปูพื้น
ผ้าปูพื้นที่เก่าแล้วก็จะนำมาทำเป็นผ้าเช็ดเท้า ผ้าเช็ดเท้าที่เก่าแล้วก็จะนำมาทำเป็นผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลีที่เก่าแล้วก็จะนำมาโขลกให้แหลกแล้วขยำกับโคลน เพื่อฉาบทาฝากุฏิ ดังนั้น ผ้ากฐินที่ได้ถวายพระภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ย่อมเกิดประโยชน์สูงสุด จึงก่อให้เกิดอานิสงส์แก่ผู้ทอดถวายมากมาย
ประวัติการรับผ้ากฐิน และอานิสงส์กฐิน (โดยย่อ)
สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ จำนวนสามสิบรูป เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน
แต่เมื่อถึงเมืองสาเกตุยังไม่ทันถึงกรุงสาวัตถีก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน จึงต้องเข้าจำพรรษาในระหว่างทาง ในระหว่างนั้น ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐมีใจระลึกถึงพระพุทธองค์ว่า “เราแม้อยู่ห่างจากสาวัตถีเพียงหกโยชน์ แต่พวกเรากลับไม่ได้เข้าเฝ้าพระองค์”
ครั้นล่วงสามเดือนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้ทำการปวารณาซึ่งกันและกันในวันมหาปวารณา ในตอนนั้นแม้ออกพรรษาแล้ว แต่ฝนยังตกอยู่ พื้นดินชุ่มไปด้วยน้ำและโคลน
ภิกษุเหล่านั้นรีบเร่งเดินทางเพื่อไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทำให้สบงจีวรที่ท่านนุ่งห่มเปียกปอนเปรอะเปื้อนและเปื่อยขาด กว่าจะเดินทางมาถึงวัดพระเชตวันก็ได้รับความลำบากเป็นอย่างมาก
ครั้นถึงวัดพระเชตวันแล้ว ยังมิทันได้พักเลย ภิกษุเหล่านั้นก็รีบเข้าไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งจีวรที่ชุ่มไปด้วยน้ำ เปรอะเปื้อนไปด้วยดินโคลน
พระพุทธองค์ทรงตรัสถามภิกษุเหล่านั้นในเรื่องความเป็นอยู่และสุขภาพร่างกายว่า “จำพรรษากันผาสุกดีอยู่หรือ ทะเลาะวิวาทกันบ้างหรือไม่ อาหารบิณฑบาตพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายได้ทูลตอบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “จำพรรษาด้วยความผาสุก พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ยังมีความพร้อมเพรียงกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกันและไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นจีวรของภิกษุทั้งหลายเก่าและขาด จึงทรงมีพุทธานุญาตให้รับผ้ากฐินได้ แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลาสั้นๆ เพียงหนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว โดยให้ภิกษุที่ได้รับผ้ากฐินแล้วได้อานิสงส์ห้าประการ คือ
1.เที่ยวไปสู่ที่สงัด เพื่อแสวงหาที่ปฏิบัติธรรมได้ตามสะดวก โดยไม่ต้องบอกลา
2.เที่ยวไปได้ โดยไม่ต้องนำผ้าไตรจีวรไปครบสำรับ
3.ฉันคณะโภชนะได้ คือ ฉันภัตตาหารร่วมโต๊ะหรือร่วมวงฉันด้วยกันได้
4.ทรงอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา คือ รับผ้าจีวรได้มากผืน
5.จีวรที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ คือ หากได้ผ้าจีวรมาเพิ่มอีก ก็สามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่ต้องเข้าส่วนกลาง
Cr. www.dmc.tv/
ทานบารมีเป็นความดีที่ทำได้ง่าย เพียงแต่บุคคลตัดความตระหนี่ออกจากใจ แล้วแบ่งปันสิ่งที่ตนมีนั้นให้แก่บุคคลอื่น เท่านี้บุญก็จะเกิดขึ้นแล้ว..
หากมีคำถามว่า...
“แล้วเราจะให้ทานแก่ใคร จึงจะได้บุญมาก”
คำตอบก็คือ “ให้แก่...ผู้มีศีล ผู้เข้าถึงธรรมะภายใน”
“แล้วให้ตอนไหน”
“ก็ต้องให้ตอนที่ท่านต้องการ”
ในฤดูกาลทอดกฐิน ซึ่งมีระยะเวลาสั้นๆเพียงหนึ่งเดือนหลังจากพระภิกษุออกพรรษาแล้ว เป็นเวลาที่ท่านต้องการให้ผู้มีบุญทั้งหลายมาทอดกฐินกัน เมื่อผู้รับกับผู้ให้ตรงกัน ย่อมเกิดบุญมหาศาล จึงขอเรียนเชิญท่านทั้งหลายมาทำบุญทอกกฐินกัน
สำหรับเรื่องราวของมานพหนุ่ม ผู้มีบุญวาสนาได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วได้ถวายผ้าให้ท่านได้เย็บทำจีวรและได้ใช้สอยจีวรนั้น ในชาติดังกล่าว...
เมื่อมานพหนุ่มละโลกแล้วก็ได้ไปเกิด ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นเมื่อกลับมาเกิดในโลกมนุษย์ บุญเก่าก็ยังตามมาส่งผลให้ได้เกิดในตระกูลอำมาตย์ และเมื่อพระราชพระองค์ก่อนสวรรคตลง ราชรถก็มาเกยให้ได้เสวยราชสมบัติ
อีกทั้งยังเป็นพระราชาที่ได้ต้นกัลปพฤกษ์ มีผ้าทิพย์เกิดขึ้นจากดอกกัลปพฤกษ์ ทำให้ประชาชนชาวกรุงพาราณสีได้รับความสุข และเพลิดเพลินจากการอาศัยต้นกัลปพฤกษ์นั้น
เมื่อกาลล่วงมานาน วันหนึ่ง พระราชเทวีทรงพิจารณาดูสมบัติของพระราชาที่มีมากมาย แต่ไม่เห็นว่า พระองค์จะทรงสั่งสมบุญใหม่แต่ประการใด สักวันบุญนั้นก็ต้องมีวันหมดลงเป็นธรรมดา
พระราชเทวีจึงทรงกราบทูลแก่พระราชาว่า “มหาสมบัติของพระองค์นี้ ที่พระองค์ทรงได้มาก็เป็นเพราะบุญเก่าแต่ชาติปางก่อน แต่บัดนี้พระองค์มิได้ทรงบำเพ็ญกุศลในปัจจุบันเลย”
เมื่อทรงทราบความนั้นแล้ว พระเจ้านันทราชจึงตรัสว่า “ดูก่อนพระเทวี เราจะถวายทานแก่ใครเล่า ยุคสมัยนี้ไม่มีเนื้อนาบุญเลย”
พระราชเทวีทรงกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสวามี ชมพูทวีปนั้นหาได้ว่างจากพระอรหันต์ไม่ ขอพระองค์ทรงรับสั่งให้จัดวัตถุทานไว้เถิด หม่อนฉันจะอาราธนาพระอรหันต์เอง”
พระเจ้านันทราชทรงปลื้มพระทัย ตรัสสั่งให้อำมาตย์จัดเตรียมวัตถุทานที่จะถวายในวันรุ่งขึ้น
ในเวลาเย็นวันนั้น...พระราชเทวีก็ได้เสด็จขึ้นไปบนปราสาท ทรงประทับนั่งหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วอธิษฐานจิตว่า
“ถ้าพระอรหันต์ทั้งหลายที่มีอยู่ในทิศนี้ พรุ่งนี้เช้า...ขอจงมารับภัตตาหารและวัตถุทานของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด”
-แต่ในวันรุ่งขึ้น ไม่มีพระอรหันต์มารับทานนั้นเลย เจ้าหน้าที่จึงนำวัตถุทานแจกจ่ายแก่ชายเมืองทั้งหลายให้เป็นทานไป
วันรุ่งขึ้นต่อมา พระราชเทวีก็ทรงให้จัดวัตถุทานเช่นเคย แต่เปลี่ยนมาเป็นทิศใต้ และเปลี่ยนมาเป็นทิศตะวันตก ก็ไม่มีเนื้อนาบุญมารับวัตถุทานนั้นเลย
ในที่สุดจึงทรงรับสั่งให้มาจัดทางด้านทิศเหนือ ครั้งนั้น พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นประธานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์
ได้บอกข่าวการนิมนต์ของพระราชเทวีให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทราบ และขอให้รับนิมนต์ของพระนางด้วย
ในวันรุ่งขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายจึงพากันเหาะมาลงที่ประตูเมืองทางด้านทิศเหนือ
เพื่อมาเป็นเนื้อนาบุญ ชนทั้งหลายเมื่อเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพากันมามากมาย จึงเข้าไปกราบทูลพระเจ้านันทราชให้ทรงทราบ
พระราชาและพระราชเทวีทรงโสมนัสและเสด็จออกมาถวายการต้อนรับ และอาราธนาให้เข้าไปในปราสาท จากนั้น ทั้งสองพระองค์ ก็ได้ถวายภัตตาหารและวัตถุทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
หลังจากนั้นก็ทูลอาราธนาให้ไปพำนักในพระราชอุทยานของพระองค์ ซึ่งได้จัดกุฏิไว้ห้าร้อยหลัง
ต่อมาภายหลัง พรมแดนของพระเจ้านันทราชมีข้าศึกมารุกราน พระองค์จึงตรัสกับพระราชเทวีว่า “เราจะไประงับศึกที่พรมแดน เธออย่าประมาทในการดูแลพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย”
จากนั้น ก็ทรงเสด็จนำทัพ พระราชดำเนินออกจากพระนครไป
ขณะที่พระเจ้านันทราชกำลังทรงปราบปรามข้าศึกอยู่นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าก็สิ้นอายุสังขาร ได้ดับขันธปรินิพพานในท่ายืนพร้อมกันทั้งหมด
วันรุ่งขึ้น พระราชเทวีได้จัดเตรียมภัตตาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่มีรูปใดมารับภัตตาหารของพระนางเลย พระนางจึงรับสั่งให้ราชบุรุษไปดู
เมื่อราชบุรุษไปตรวจดูก็พบว่า...พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดได้ปรินิพพานเสียแล้ว จึงกลับมากราบทูลพระราชเทวีว่า “บัดนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายได้ปรินิพพานเสียแล้วพระเจ้าค่ะ”
เมื่อพระราชเทวีทรงทราบข่าวการปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ทรงกันแสง ด้วยทรงเศร้าสลดว่า “บุคคลผู้มีอานุภาพสูงส่งถึงเพียงนี้ก็ยังต้องมาประสบกับอำนาจของมัจจุราช”
-แล้วรับสั่งให้จัดพิธีถวายพระเพลิงสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นถวายพระเพลิงเรียบร้อยแล้วก็ทรงให้สร้างพระเจดีย์ แล้วทรงเก็บพระอัฐิธาตุไว้ในพระเจดีย์ ทรงทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย
ส่วนพระเจ้านันทราช ครั้นเสร็จภารกิจในการปราบปรามข้าศึกแล้ว ได้ยกทัพกลับคืนสู่พระนคร
แต่ยังไม่ถึงเมือง พระราชเทวีก็เสด็จออกมาต้อนรับ และตรัสเล่าข่าวเรื่องการปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าให้พระองค์ได้ทรงทราบ
พระเจ้านันทราชทรงสดับเรื่องทั้งหมดแล้วก็ทรงสลดพระทัย ทรงดำริว่า “บัณฑิตผู้ประเสริฐถึงปานนี้ ยังถึงซึ่งความตาย แล้วเราจะพ้นจากความตายไปได้อย่างไร”
ครั้นพระเจ้านันทราชทรงดำริเช่นนี้แล้ว ก็ไม่เสด็จเข้าพระนครอีก แต่ได้เสด็จเข้าสู่พระราชอุทยาน
แล้วรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสพระองค์โตมาเข้าเฝ้า จากนั้นได้ทรงมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์โตครองราชย์สืบต่อไป
ส่วนพระองค์เองได้ทรงผนวชเป็นพระดาบส แล้วได้อาศัยอยู่ในพระราชอุทยานนั้น พระราชเทวีทรงระลึกถึงพระราชาที่ออกบวชแล้ว จึงได้ทรงอธิษฐานจิตออกบวชตาม
พระดาบสและพระดาบสินี ทั้งสองพระองค์เมื่อครองเพศเป็นบรรพชิตแล้วได้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ตั้งใจปฏิบัติธรรม ไม่นานนักก็ได้บรรลุฌานสมาบัติ เมื่อละโลกแล้วได้ไปบังเกิดในพรหมโลก
จากเรื่องนี้เราจะเห็นว่า ทรัพย์สมบัติที่เรามีอยู่นั้น นอกจากจะใช้เป็นเครื่องดำรงชีพของตน และครอบครัวแล้ว ถ้าจะให้บังเกิดประโยชน์สูงสูด ก็ต้องใช้สั่งสมบุญในทักขิไณยบุคคลผู้เป็นเนื้อนาบุญด้วย
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
มานพหนุ่มผู้ได้ผ้าทิพย์จากต้นกัลปพฤกษ์ ตอนที่ 1 คลิกที่นี่
Cr. http://www.dmc.tv/
บุญเป็นสิ่งที่ควรสร้าง ทานเป็นสิ่งที่ควรสั่งสม เพราะเป็นเหตุแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต
อีกทั้งเป็นต้นทางแห่งสวรรค์ บุคคลผู้ฉลาดจึงควรหมั่นสั่งสมทานอยู่เนืองๆ
การทอดกฐินนั้น วัตถุประสงค์ดั้งเดิม คือ การถวายผ้าจีวรซึ่งเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ ให้ท่านรับผ้าชุดใหม่ในฤดูกาลที่ออกพรรษาแล้ว
เพื่อท่านจะได้จาริกไปสู่ที่สงบสงัด แสวงหาที่วิเวกปฏิบัติธรรมโดยปราศจากความกังวลว่า ในระหว่างนั้น...ผ้าชุดเก่าจะเปื่อยขาดเสียก่อน
>>>การถวายผ้าในช่วงฤดูกาลที่ท่านมีความจำเป็นต้องใช้ จึงมีอานิสงส์มาก.
เพราะท่านได้ใช้ผ้านั้นให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งอานิสงส์ที่เกิดจากการทอดกฐินนั้นมีมากมาย
ดังเรื่องของมานพหนุ่มชาวเมืองพาราณสี ที่ท่านเคยได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ และได้สมบัติอัศจรรย์มาแล้ว
ในอดีตกาล มานพหนุ่มท่านนี้ได้เกิดในสมัยที่โลกว่างจากพระพุทธศาสนา
แต่ท่านเป็นผู้ที่มีวาสนา ขณะที่ท่านเดินเที่ยวไปในป่า ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง ซึ่งท่านกำลังทำจีวรอยู่ เมื่อผ้าไม่พอทำจีวร ท่านก็เริ่มจะพับเก็บ
ฝ่ายมานพหนุ่มเห็นกิริยาของท่านดังนั้น จึงเข้าไปถามว่า “ท่านทำอะไรขอรับ”-ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าก็มิได้กล่าวสิ่งใด เพราะท่านเป็นผู้มักน้อย
แต่มานพหนุ่มเป็นผู้มีปัญญา รู้ว่าผ้าไม่พอทำจีวร จึงวางผ้าสำหรับห่มคลุมไหล่ เนื้อดีของตน ทอดถวายไว้ใกล้ๆเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้ถือเอาผ้าห่มคลุมไหล่ผืนนั้น มาใช้ประกอบกัน เย็บจนสำเร็จเป็นจีวร แล้วได้ใช้ผลัดเปลี่ยนกับจีวรผืนเก่าของท่านต่อไป
พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันหนึ่ง มีข่าวการเล่นนักขัตฤกษ์ มานพนั้นจึงไปบอกมารดาว่า “คุณแม่ครับ ขอผ้านุ่งห่มให้กระผมด้วยเถิด กระผมจะไปเล่นนักขัตฤกษ์”
-มารดาของท่านจึงไปนำเอาผ้าผืนใหม่ที่สุดในบ้านมาให้หนึ่งผืน แต่บุตรชายไม่รับและบอกว่าผ้าผืนนี้เนื้อหยาบเกินไป
ผู้เป็นมารดาจึงกลับไปค้นหาผ้าผืนใหม่ที่สวยกว่าผืนเดิมมาให้อีก แต่บุตรชายก็ยังไม่ยอมรับและบอกว่ายังเป็นผ้าเนื้อหยาบอยู่ดี
ผู้เป็นมารดาจึงบอกว่า “ตระกูลของเรามีฐานะเท่านี้ ไม่อาจหาผ้าที่เนื้อดีกว่านี้ได้อีกแล้ว”
-มานพนั้นจึงกล่าวว่า “ไม่เป็นไรครับคุณแม่ กระผมจะออกไปแสวงหาผ้าเนื้อดีเอง”
มานพหนุ่มจึงเดินออกไปแสวงหาผ้า เดินไปเรื่อยๆจนถึงเมืองพาราณสี และด้วยบุญชักนำจึงเดินเข้าไปในราชอุทยานของพระราชา
ครั้นเดินเข้าไปภายในราชอุทยานแล้ว มานพหนุ่มเห็นบรรยากาศร่มรื่นจึงนอนพักผ่อนบนแท่นมงคลศิลา โดยเอาผ้าคลุมตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
ในวันนั้นครบรอบเจ็ดวันของการสวรรคตของพระเจ้ากรุงพาราณสี เหล่าอำมาตย์ราชปุโรหิตต่างประชุมปรึกษากันว่าจะเลือกใครขึ้นเป็นพระราชาองค์ต่อไป
เหล่าเสนาอำมาตย์และปุโรหิตตกลงกันว่าจะทำพิธีเสี่ยงทาย โดยใช้ราชรถเทียมม้าของพระราชาให้วิ่งออกไป ถ้าไปหยุดอยู่ตรงหน้าใคร ก็จะให้ผู้นั้นเป็นพระราชา
ราชรถได้วิ่งออกนอกเมืองไปด้วยความรวดเร็ว จากนั้นราชรถก็วิ่งย้อนกลับมา แล้ววิ่งเข้าไปในราชอุทยานของพระราชา ราชรถวิ่งมาหยุดตรงแท่นศิลาที่มานพหนุ่มนอนหลับอยู่
เหล่าอำมาตย์ราชปุโรหิตจึงสั่งให้เหล่านักดนตรีมาบรรเลงเพลงเพื่อปลุกมานพหนุ่ม
เมื่อเขาตื่นขึ้นมาแล้วเหล่าอำมาตย์ก็ได้ทูลเชิญมานพหนุ่มนั้น เพื่อขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระราชาปกครองเมืองพาราณสีต่อไป
มานพหนุ่มจึงถามว่า “พระราชาองค์ก่อนไม่มีรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์หรือ”
อำมาตย์ตอบว่า “ไม่มีพระเจ้าค่ะ พระองค์ทรงมีแต่พระราชธิดา”
มานพหนุ่มจึงตอบตกลงว่า “ถ้าเช่นนั้น เราจะเป็นพระราชาให้”
เมื่อมานพหนุ่มรับปากว่าจะเป็นพระราชา เหล่าอำมาตย์จึงน้อมเอาภูษาของพระราชามามอบให้มานพหนุ่มนั้น
แต่มานพหนุ่มนั้นไม่รับและบอกว่า “นี่เป็นผ้าเนื้อหยาบ ยังมีผ้าเนื้อดีกว่านี้อีกหรือไม่”-อำมาตย์ตอบว่า “พระราชองค์ก่อนก็ทรงใช้ผ้าชนิดเดียวกันนี้ ในเมืองนี้ไม่มีผ้าที่จะดีกว่านี้อีกแล้วพระเจ้าค่ะ”
มานพหนุ่มจึงให้ไปนำพระเต้าทองคำมาเพื่อล้างมือและบ้วนปาก เหล่าเสนาอำมาตย์ได้นำพระเต้าทองคำมามอบให้แก่มานพหนุ่ม
เขาได้นำน้ำในพระเต้าทองคำมาเทใส่มือ และได้นำน้ำนั้นมาล้างมือและบ้วนปาก และพรมน้ำนั้นออกไปในทิศทั้งสี่
ทันทีที่น้ำพรมลงพื้น ได้บังเกิดต้นกัลปพฤกษ์ขึ้นมาในทิศทั้งสี่ ทิศละแปดต้น รวมเป็นสามสิบสองต้น ต้นกัลปพฤกษ์ที่เกิดด้วยอำนาจบุญ มีขนาดใหญ่มาก มีรัศมีเรืองรอง
มานพหนุ่มจึงเดินเข้าไปที่ต้นไม้นั้น และเหยียดมือออกไปทางต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง
เมื่อผู้มีบุญตั้งจิตปรารถนา...เหยียดมืออกมา ดอกกัลปพฤกษ์ก็จะค่อยๆ ตูมขึ้นมาหนึ่งดอก ขนาดใหญ่กว่าดอกอื่นๆ จากนั้นก็ค่อยๆบานออกแล้วโน้มช่อดอกลงมา
ที่กลางดอกนั้นมีผ้าทิพย์ ดอกสีอะไรผ้าก็จะเป็นสีนั้น ถ้าดอกกัลปพฤกษ์สีแดงผ้าทิพย์ก็จะเป็นสีแดง ถ้าดอกกัลปพฤกษ์สีเหลือง เมื่อดอกบานก็จะมีผ้าทิพย์สีเหลืองอยู่กลางดอก
เมื่อมานพนั้นได้ผ้าแล้ว จึงบอกกับเหล่าอำมาตย์ว่า “ท่านจงไปบอกหญิงทอผ้าทั้งหลายในเมืองนี้ว่า...ไม่ต้องทอผ้าอีกแล้ว จงมานำผ้าที่ต้นกัลปพฤกษ์ไปใช้เถิด”
-หลังจากนั้น มานพหนุ่มก็ขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า “พระเจ้านันทราช”
เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า สมบัติอัศจรรย์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะมีผู้เคยได้รับสมบัตินั้นมาแล้ว
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา